วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งตามลักษณะการเชื่อมต่อทางภูมิศาสตร์ หรือระยะทางการเชื่อมต่อ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระยะใกล้ภายในสำนักงาน หรืออาคารเดียวกัน หรืออาคารที่อยู่ใกล้กันโดยใช้ สายสัญญาณ ได้แก่ สายโทรศัพท์ สายโคแอกเชียล หรือ สายใยแก้วนำแสงตัวอย่างเช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย ภายในอาคารหรือบริษัทเดียวกัน ระบบเครือข่ายท้องถิ่น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ การปฏิบัติงาน ในด้านการใช้ทรัพยากร ของระบบร่วมกัน หรือสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ ระบบ LAN ช่วยให้มีการติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ร่วมกัน และใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า
2. ระบบเครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network : MAN) หมายถึง การเชื่อมต่อ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ที่มีระยะทางการเชื่อมต่อไกลกว่า ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) แต่ระยะทางยังคงใกล้กว่าระบบ WAN (Wide Area Network) ได้แก่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันภายในเมืองเดียวกันหรือจังหวัดเดียวกัน ในเขตเดียวกัน ตัวอย่างเช่น เคเบิลทีวี
3. ระบบเครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network : WAN) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ระยะไกล เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เช่น ระหว่างประเทศ การเชื่อมต่อเครือข่ายทั่วโลก ติดตั้งใช้งานบริเวณกว้างมีสถานีหรือจุดเชื่อมมากมาย และใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ไมโครเวฟ ดาวเทียม เนื่องจากเป็นการติดต่อสื่อสารระยะไกล อัตราการรับส่งข้อมูลจึงต่ำ และมีโอกาสผิดพลาดได้สูง การสื่อสารระยะไกล จำเป็นต้องมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณ คือ โมเด็ม ช่วยในการติดต่อสื่อสาร และสามารถนำเครือข่าย LAN มาเชื่อมต่อกัน เป็นเครือข่ายระยะไกลได้ ตัวอย่างของเครือข่ายระยะไกล เช่น อินเทอร์เน็ต เครือข่ายระบบงานธนาคารทั่วโลก เครือข่ายของสายการบิน เป็นต้น

อินทราเน็ต คือ
ความหมายของ Intranetเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กภายในองค์กร intra แปลว่า ภายใน, และ net แปลว่าเครือข่าย แปลความหมายได้ง่ายๆว่า เครือข่ายภายในครับ intranet เป็นการนำเอารูปแบบ http และโปรโตคอล ต่างๆที่ใช้ในระบบอินเทอร์เน็ต มาทำเป็นเครือข่ายภายในองค์กรณ์ ทำให้ ถ้าหากคนในองค์กร ใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็น ก็สามารถจะใช้ Intranet ได้ทันที ทำให้ประหยัดเวลา ในการอบรม และ สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ ร่วมกันภายในองค์กรได้

การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
1. เว็บไซต์ (Website) หมายถึง ที่ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยการค้นหาข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น ๆ หรือสามารถค้นหา

เว็บไซต์ที่เราต้องการค้นคว้าผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ที่ www.google.com www.yahoo.com www.sanook.com เป็นต้น
1.1 การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก (keyword) ให้ได้ก่อน
1.2 การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน

2. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลสะดวก รวดเร็ว โดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ เป็นต้น ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน เช่น ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่ เฉพาะเกี่ยวกับนิราศก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง คือ สุนทรภู่ และระบุหัวข้อเรื่อง คือ นิราศ ระบบสามารถประมวลผลงานของสุนทรภู่เฉพาะเรื่องที่เป็นนิราศเท่านั้น

3. ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูล คือ แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง หรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง จำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่น แสน หรือล้านรายการ
ออนไลน์ (online) เป็นคำทับศัพท์ หมายถึง การเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ให้ได้ตรงตามความต้องการ อาจใช้เทคนิคง่าย ๆ เข้าช่วย ดังนี้
1. ทำความเข้าใจความหมายของคำเชื่อมที่สำคัญ 3 คำ คือ
"และ" ใช้เพื่อจำกัดขอบเขตของข้อมูลให้แคบลง

ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" และ "เรื่องสั้น" ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลของ ว.วินิจฉัยกุล เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องสั้นเท่านั้น จะไม่ปรากฎเรื่องราวด้านอื่น ๆ เลย
"หรือ" ใช้เพื่อเพิ่มขอบเขตของข้อมูลให้กว้างขึ้น
ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" หรือ "ทมยันตี" ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับ ว.วินิจฉัยกุล และทมยันตี ทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น
"ไม่" ใช้เพื่อลดขอบเขตของข้อมูล
ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" ไม่ "ประวัติ" ข้อมูลที่ได้จะเน้นเรื่องราวของ ว.วินิจฉัยกุลทุกด้าน จะไม่มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติชีวิตของ ว.วินิจฉัยกุล เลย
2. ใช้สัญลักษณ์ หากไม่ทราบวิธีสะกดคำที่ถูกต้อง
เครื่องหมายคำถาม ? ใช้แทนอักษร 1 ตัว
เครื่องหมายดอกจัน* ใช้แทนอักษรหลายตัว
ตัวอย่าง ต้องการค้นเรื่องวิญญาณ แต่ไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่าตัวสะกดเป็น ณ หรือ น ให้พิมพ์ "วิญญา?"
ต้องการค้นเรื่อง ปัญจวัคคีย์ แต่ไม่แน่ใจตัวการันต์ให้พิมพ์ ปัญจวัคคี*
3. ฐานข้อมูลอีริก (ERIC database) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษาให้ใช้คำว่า NEAR สำหรับการค้นที่รวมคำที่ใกล้เคียงกับคำที่ต้องการด้วย

การสืบค้นข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต

ในยุคแห่งเทคโนโลยีมีข้อมูลมากมายมหาศาลที่จะให้เราสืบค้น การที่จะค้นหาข้อมูลจำนวนมากมายอย่างนี้เราไม่อาจจะกดคลิกเพื่อค้นหาข้อมูลให้พบได้ง่ายๆ จึงจำเป็นจะต้องอาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือค้นหาที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลมีมากมายหลายที่ทั้งของคนไทยและต่างประเทศ และในที่นี้จะขอยกตัวอย่างวิธีการการสืบค้นข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต 5 วิธี ได้แก่


1. การสืบค้นข้อมูล โดยใช้ www.google.com

• เข้าไปที่ www.google.com


• พิมพ์คำที่ต้องการลงไป ตัวอย่าง พิมพ์คำว่า ความหมายของอินเตอร์เน็ต ลงไปในช่องค้นหา และเมื่อพิมพ์คำที่ต้องการค้นหาเสร็จแล้วให้กด ค้นหาด้วยGoogle

• การแสดงผลบนหน้าจอจะปรากฏรายชื่อเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำที่เราค้นหา โดยเรียงลำดับจากคำที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด

• เราสามารถเลือกเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งที่เราต้องการ แล้วเปิดดูได้ทันที หากไม่ตรงกับที่ต้องการก็คลิกเมาส์ไปที่ปุ่ม Back เพื่อกลับไปที่หน้าเดิมอีกครั้งแล้วเลือกเว็บไซต์อื่นๆใหม่

2. การสืบค้นรูปภาพ โดยใช้ www.google.com

• เข้าไปที่ www.google.com

• กดที่เปลี่ยนหมวดหมู่บริเวณด้นบนซ้ายมือ จาก เว็บ เป็น รูปภาพ

• พิมพ์คำที่ต้องการลงไป ตัวอย่าง พิมพ์คำว่า คอมพิวเตอร์ ลงไปในช่องค้นหา และเมื่อพิมพ์คำที่ต้องการค้นหาเสร็จแล้วให้กดปุ่ม ค้นหาภาพ

• การแสดงผลบนหน้าจอจะปรากฏรูปภาพจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำที่เราค้นหา โดยเรียงลำดับจากคำที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด

• เราสามารถเลือกดูรูปภาพจากเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งที่เราต้องการได้ และหากไม่ตรงกับที่ต้องการก็คลิกเมาส์ไปที่ปุ่ม Back เพื่อกลับไปที่หน้าเดิมอีกครั้งแล้วเลือกรูปภาพอื่นๆใหม่

3. การสืบค้นข้อมูล ในรูปแบบ Index Directory

• วิธีการค้นหาข้อมูลแบบ Index ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วยวิธี Search Engine การค้นหาข้อมูลแบบ Index จะมีการคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Web site ต่างๆออกเป็นประเภท
• วิธีการใช้งาน เราสามารถที่จะคลิกเลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้เลยใน Web Browser
• จากนั้นหน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยที่ลึกลงมาอีกระดับหนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีก ส่วนจะแสดงออกมามากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฐานข้อมูลในIndex ว่าในแต่ละประเภทจัดรวบรวมเก็บเอาไว้มากน้อยเพียงใด
• เมื่อเราเข้าไปถึงฐานข้อมูลประเภทย่อยที่เราสนใจแล้ว จะมีการแสดงรายชื่อของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ ประเภทของข้อมูลนั้นๆออกมา หากเราสนใจเอกสารใดหรือต้องการอยากที่จะชม ก็สามารถคลิกลงไปยัง Link เพื่อขอเชื่อต่อทางไซต์ก็จะนำเอาผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาแสดงผลทันที
• นอกจากนี้เว็บไซต์ที่แสดงออกมานั้นทางผู้ให้บริการยังได้เรียบเรียงเว็บไซต์ โดยนำเอาเว็บไซต์ที่มีความเกี่ยวข้องมากที่สุดไว้ตอนบนสุดของรายชื่อที่แสดง

4. การสืบค้นข้อมูล ในรูปแบบ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์

• ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ คือ ห้องสมุดที่สามารถใช้บริการผ่านอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งจะแตกต่างจากห้องสมุดแบบธรรมดาทั่วไป

• ข้อดีของห้องสมุดอีเล็กทรอนิกส์ คือ การค้นหาข้อมูลทำได้สะดวก รวดเร็ว โดยสามารถค้นหาได้จากชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง เลขมาตราฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) เลขมาตราฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ เป็นต้น ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน เช่น ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่ เฉพาะเจาะจงแต่ นิราศ ก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับชื่อผู้แต่งได้ คือ สุนทรภู่ ระบุหัวข้อเรื่อง คือ นิราศ ระบบจะประมวลผลผลงานสุนทรภู่เฉพาะที่เป็นนิราศเท่านั้น

5. การสืบค้นข้อมูลแผนที่ออนไลน์ ในรูปแบบ Google Maps

• Google Maps คือ บริการแผนที่ออนไลน์จาก Google แผนที่ออนไลน์นี้สามารถใช้งานได้หลายอย่าง เช่น หาตำแหน่งพิกัด ตรวจสอบสภาพการจราจร ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายจากอากาศยานที่มีความละเอียดของภาพสูง บริการค้านหาสถานที่ห้างร้านต่างๆ บริการค้นหาเส้นทางจากสถานที่ต้านทางไปยังสถานที่ปลายทาง บริการภาพถ่ายจากถนนในเมืองสำคัญๆ ที่ทำให้ผู้ใช้เห็นสภาพแวดล้อมและอาคารบ้านเรือนริมสองฝั่งถนน เป็นต้น

• นอกจากนี้ Google Maps ประเทศไทยยังแสดงข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ใช้งานคนไทยในกรอบบริเวณด้านซ้ายมือ ได้แก่ รายชื่อเมืองยอดนิยม แผนที่ยอดนิยม และ Link สำหรับเพิ่มรายชื่อธุรกิจของเราบน Google Maps

• วิธีการใช้งาน คือ เปลี่ยนหมวดหมู่ ของ Google เป็น Maps

• จากนั้นพิมพ์คำที่ต้องการค้นหาลงไปในช่องค้นหา ตัวอย่างเช่น พิมพ์คำว่า กรุงเทพ แล้วกด ค้นหาแผนที่

• หน้าจอจะแสดงผล พิกัดของกรุงเทพบนแผนที่ประเทศไทย และด้านซ้ายมือจะเป็นสถานที่สำคัญ สถานที่ยอดนิยม ฯลฯ ตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น

แหล่งอ้างอิง
http://www.kemapat.ac.th/searchengine.htm

http://www.bpp.go.th/e-learning/internet_4.html

http://202.44.68.33/library/teachershow/bangkok/teunjai_v/computer01/sec02p01.html

http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=3058

http://www.stks.or.th/web/presentation/search-it_files/frame.htm

Digital library หมายความว่า
เป็นห้องสมุดที่มีการจัดการและให้บริการเนื้อหาของข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาเอกสารเต็มรูป (Full-text) ได้โดยตรง มีการสร้างหรือจัดหาข้อมูลดิจิทัลมาจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบเพื่อความสะดวกในการสืบค้นและให้บริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีเป้าหมายเพื่อให้บริการข้อมูลเช่นเดียวกับห้องสมุดแบบดั้งเดิม ซึ่งข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลมีหลากหลายรูปแบบได้แก่

- ข้อมูลที่แปลงมาจากข้อมูลในหนังสือพิมพ์

- ข้อมูลที่สร้างขึ้นใหม่ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล

- ข้อมูลจากซีดีรอม

- ข้อมูลในวารสารอิเล็คทรอนิกส์

- หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

- ข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์

ความหมายในทางเทคโนโลยีของทรัพยากรที่อยู่ในห้องสมุดแบบดั้งเดิมคือสิ่งพิมพ์หรือสื่อที่เป็นวัสดุเรียกว่า Physical objects ส่วนทรัพยากร (Item) ในห้องสมุดดิจิตอล เรียกว่า Digital objects ซึ่งจัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หลักที่เรียกว่า Server ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ใน Digital objects คือเนื้อหาเรียกว่า Contents ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลหรือ Data ในหลาย items และข้อมูลอธิบายรายละเอียดของข้อมูล หรือ Data นั้นๆ เรียกว่า Metadata ซึ่งการจัดหมวดหมู่ข้อมูลให้เป็นระบบในลักษณะ Metadata นั้นก็เพื่อความสะดวกในการค้นหาและเพื่อให้การจัดการข้อมูลดิจิทัลมีมาตรฐานในการใช้ข้อมูลดิจิตัลร่วมกัน รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูล